วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

การประปาฉุกเฉิน

การประปาฉุกเฉินและการปรับปรุงคุณภาพ( Emergency Water Supply and Treatment)

การประปาฉุกเฉินอาจมีความจำเป็นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์อย่างรีบด่วนที่ผิดปกติขึ้น เช่น ในกรณีน้ำท่วม ไฟไหม้หรือผู้คนอพยพหนีภัย หรือแม้กระทั่งการเดินทางไปในแดนทุรกันดาร หาน้ำดื่มที่ปรับปรุงคุณภาพเช่นที่เคยอาศัยอยู่ในบ้านหรือในเมืองไม่ได้ แต่ก็พอที่จะอาศัยแนวทางการปรับปรุงน้ำสะอาดมาประยุกต์ใช้ ก็อาจทำน้ำดื่มที่สกปรกกลายเป็นน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยได้ ถึงแม้น้ำบางแหล่ง เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนองหรือสระน้ำ ที่เรามองเห็นว่าน้ำใสสะอาดน่าจะดื่มได้ แต่น้ำจากแหล่งน้ำเหล่านี้ล้วนมีแต่สิ่งสกปรกต่าง ๆ เจือปนอยู่ ซึ่งเมื่อเรารับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดโรคได้ การตัดสินว่า น้ำสะอาดหรือไม่ทำได้โดยการทดสอบหาเชื้อในห้องปฏิบัติการ แต่ภายใต้เหตุการณ์ฉุกเฉินจะมานั่งรอผลการตรวจอยู่ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และไหวพริบที่จะช่วยเหลือเพื่อเอาชีวิตรอด โดยการทำการปรับปรุงคุณภาพของน้ำโดยวิธีใดวิธีหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น


1.การต้ม (Boiling)
ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายมาก โดยนำน้ำจากแหล่งที่คิดว่าจะนำมาเป็นน้ำดื่มใส่ภาชนะ ต้มให้เดือดนานประมาณ 15 นาที ซึ่งสามารถทำลายเชื้อโรคให้ตายได้


2. เติมสารคลอรีน (Chlorination)
นับว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดวิธีหนึ่งที่ปรับปรุงคุณภาพของน้ำ ส่วนมากนิยมใส่คลอรีนลงไปในน้ำที่ไม่สู้จะขุ่นมากนัก เช่น น้ำที่นำมาจากบ่อ ทะเลสาบ หรือแม่น้ำหรือจากแหล่งอื่น ๆ วิธีทำคือนำเอาปูนคลอรีนมาละลายกับน้ำ เพื่อทำเป็น Stock -Solution เสียก่อน แล้วจึงหยดหรือเติมคลอรีนที่ละลายในน้ำดีแล้วลงไปในน้ำที่เราปรับปรุงคุณภาพ การจะเติมมากน้อยแค่ไหนก็ทำได้โดยอาศัยวิธีการคำนวณ เช่น ทราบปริมาณของน้ำ ทราบความเข้มข้นของคลอรีน ก็จะสามารถจะเติมคลอรีนลงไปเท่าใด จึงจะให้มีเหลือ คลอรีนตกค้าง อยู่ระหว่าง 0.2-1 พี พี เอ็ม แล้วปล่อยให้น้ำที่เติมคลอรีนแล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วจึงนำมาใช้เป็นน้ำดื่มน้ำใช้ได้ การใช้คลอรีนมี 2 แบบ คือ

2.1 การใช้คลอรีนชนิดผง พวกปูนคลอรีนชนิดแคลเซียมมีมีเนื้อคลอรีนบริสุทธิ์ประมาณ 70 % เรานำมา 1 ช้อนชาเทใส่ในน้ำประมาณ 2 แกลลอน นำมาผสมให้เข้ากันดีก็จะได้ Stock –Solution มีความเข้มข้นประมาณ 500พี พี เอ็ม ต่อจากนั้นถ้าเราต้องการทำน้ำให้สะอาดจำนวนเท่าใดก็สามารถทำได้โดยเอาน้ำยาคลอรีนที่ทำเป็น Stock Solution 1 ส่วน ต่อน้ำที่ต้องการนำมาใช้ 100 ส่วน

2.2 ใช้คลอรีนชนิดเม็ด คลอรีนชนิดเม็ดนี้ จะมีบริษัททำไว้ขาย ซึ่งหาซื้อได้ตามท้องตลาด ส่วนความเข้ข้นของคลอรีนและขนาดใช้จะมีใบฉลากแจ้งติดอยู่ แต่วิธการใช้โดยทั่ว ๆ ไป จะใช้คลอรีน 1 เม็ดต่อน้ำ 1 ควอร์ต2.3 ใช้ไอโอดีน มี 2 แบบ1. ใช้ทิงเจอร์ ไอโอดีนชนิดน้ำ 2 % โดยเติมหรือหยดจำนวน 5 หยดลงไปในน้ำ1 ควอร์ต ถ้าเป็นน้ำที่มีความขุ่นมากหน่อยก็ให้เติมลงไปประมาณ 10 หยด ต่อน้ำ 1 ควอร์ต ปล่อยตั้งทิ้งไว้นาน 30 นาที จึงนำไปใช้ดื่มได้2. ใช้ไอโอดีนชนิดเม็ด ซึ่งทำขายในท้องตลาด โดยบริษัทจะพิมพ์ฉลากวิธีใช้กำกับเอาไว้ แต่ถ้าไม่มีฉลากแนะนำ ก็อาจใช้ได้โดยใช้ไอโอดีน 1 เม็ดต่อน้ำ 1 ควอร์ต


3 การกรอง (Filtration)
การกรองที่เหมาะสำหรับใช้ในรายที่ฉุกเฉิน คือใช้กรองน้ำแบบกรองด้วยทรายแบบช้า เป็นแบบที่ทำภายในบ้าน ประกอบด้วยปี๊บหรือถังหรือตุ่มน้ำ โดยเจาะรูที่ก้นแล้วใส่หินและกรวดหนาประมาณ 19 นิ้ว แล้วเททรายชนิดละเอียดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณ 0.25-0.35 มิลลิลิตร ให้ชั้นทรายหนาประมาณ 2-5 ฟุต จึงจะสามารถกรองน้ำได้ในอัตรา 3 แกลลอน/เนื้อทราย 1 ตารางฟุต ใน 1 นาที เพราะวิธีการกรองแบบ Slow sand filter สามารถกรองความขุ่นและกรองบัคเตรีได้ถึง 99 %

ไม่มีความคิดเห็น: