วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

ขยะ สิ่งโสโครก และ สิ่งปฏิกูล


ขยะ คือ ของเหลือทิ้งจากการใช้สอยของมนุษย์ หรือ จากขบวนการผลิตจากกิจกรรมภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตรกรรม ปัจจุบันขยะมูลฝอยเป็นปัญหาวิกฤตที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น จะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม และยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

สิ่งปฏิกูล หมายถึง กากตะกอนของอุจจาระ ปัสสาวะ รวมทั้งสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น (พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535)

ประเภทของขยะ

1. ขยะสด ได้แก่ เศษอาหาร เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้
2. ขยะแห้ง ได้แก่ เศษแก้ว กระป๋อง ขวด ไม้ ที่สลายยาก
3. เถ้า ได้แก่ เศษ กากที่เหลือจากการเผาไหม้ แกลบ เขม่าควัน
4. สิ่งรื้อถอน ได้แก่ ต้นไม้ที่ถูกขุดหรือถอน ซากของอาคารบ้านเรือน ฯลฯ
5. ขยะจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม สารเคมี
6. ซากสัตว์ เป็นเหตุรำคาญ ส่งกลิ่นเหม็น โรคระบาด
7. ขยะจากถนน ได้แก่ เศษใบไม้ กระดาษ ดิน ทำให้ท่อน้ำอุดตัน
8. ขยะจากกสิกรรม ได้แก่ พวกอินทรียวัตถุ เศษพืช ฟาง หญ้า มูลสัตว์
9. กัมมันตรังสี ได้แก่ ขยะเป็นพิษต่างๆ เช่น สเปรย์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ฯลฯ
10. เศษสิ่งก่อสร้าง เช่น เศษไม้ อิฐ ปูน โลหะ
11. สิ่งก่อสร้าง ได้แก่ หิน ปูนซีเมนต์ เหล็ก กระจก ฯลฯ
12. ขยะติดเชื้อ ได้แก่ สิ่งของที่ไม่ต้องการ หรือถูกทิ้งจากสถานพยาบาล อาทิ เนื้อเยื่อ ชิ้นส่วน อวัยวะต่าง ๆ และสิ่งขับถ่าย หรือของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย (เช่น น้ำเหลือง น้ำหนอง เสมหะ ปัสสาวะ อุจจาระ ไขข้อ น้ำอสุจิ ) เลือดและผลิตภัณฑ์เลือด (เช่น เซรุ่ม น้ำเลือด )

องค์ประกอบของขยะมูลฝอย
ในประเทศไทยตัวอย่างมูลฝอยที่สุ่มออกมา จะนำมาแยกองค์ประกอบเป็นประเภทต่างๆ 10 ประเภท ได้แก่
1. ผัก ผลไม้ เศษอาหาร 6. ยางและหนัง
2. กระดาษ 7. แก้ว
3. พลาสติก 8. โลหะ
4. ผ้า 9. หิน กระเบื้อง
5. ไม้ 10. อื่นๆ


สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย
1. ความมักง่ายและขาดความสำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น
2. การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น
3. การเก็บและทำลาย หรือนำขยะไปใช้ประโยชน์


ผลเสียที่เกิดจากขยะมูลฝอย
1.ทำให้เกิดทัศนะอุจาด
2.เป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อโรค
3.ทำให้ดินเสื่อมและเกิดมลพิษ
4.ทำลายแหล่งน้ำ


วิธีกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล และสิ่งโสโครก ในปัจจุบัน
1. กองทิ้งตามธรรมชาติ
2. ทิ้งทะเล
3. ถมที่
4. ปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ
5. การรีไซเคิลขยะ

วิธีที่กำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล และสิ่งโสโครก ที่ถูกหลักสุขาภิบาล
1. การฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล
2. การเผาโดยใช้เตาเผาขยะ
3. การหมักทำปุ๋ย

แนวทางแก้ไขปัญหาขยะ
1) ลดการผลิตขยะ
2) จัดระบบการรีไซเคิล
3) เลือกระบบกำจัดแบบผสมผสาน เนื่องจากปัญหาขาดพื้นที่
4) ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะ
5) ฝึกอบรมบุคลากรระดับปฏิบัติ
6) ให้ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาลที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน
7) ควรมีแผนการจัดเตรียมที่ดิน สำหรับการกำจัดขยะ ไว้สำหรับทุกหน่วย การปกครองท้องถิ่น เพื่อลดปัญหาการจัดหาพื้นกำจัดขยะ
8) สนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการขยะ

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

การปรับปรุงคุณภาพของน้ำ ( Water treatment)

การปรับปรุงคุณภาพของน้ำ ( Water treatment)


การปรังปรุงคุณภาพของน้ำ เพื่อทำให้น้ำมีคุณภาพเหมาะสมแก่การดื่มและใช้ เพราะน้ำบางแหล่งมีคุณสมบัติทางเคมี ฟิสิกส์ และบัคเตรีมากเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เหมาะต่อการใช้ดื่มบริโภค จึงจำเป็นต้องทำการปรับปรุง(Treatment) ซึ่งกรรมวิธีในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีความเหมาะสม และจำเป็นของแต่ละแหล่งน้ำไป




1. การต้ม (Boiling)

วิธีนี้เป็นวิธีปรับปรุงน้ำแบง่ายที่สุด และเป็นวิธีที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นวิธีมุ่งทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำให้หมดไป กรรมวิธีก็คือนำน้ำมาต้มให้เดือดประมาณ 15-30 นาที ความร้อนขณะน้ำเดือดก็จะมีอยู่ประมาณ 90-100 c เป็นความร้อนที่เพียงพอจะทำลายเชื้อจุลินทรีย์โดยเฉพาะเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหมดไป แต่คุณสมบัติทางฟิสิกส์ และเคมีอาจเปลี่ยนไปได้เล็กน้อย เช่น อาจลดปริมาณความขุ่น สี และกลิ่น และสามารถทำให้น้ำกระด้างชั่วคราวหายไปได้ ดังสมการ

Ca (HCO3)2 CaCO3 + H2O + CO2

ดังนั้น ในกรณีที่เกิดโรคระบาด เช่น เกิดโรค บิด หรือไข้ไทฟอยด์ระบาด การที่จะแนะนำประชาชนให้ป้องกันโรคนี้ได้ดีที่สุดก็คือ แนะนำประชาชนดื่มน้ำที่ต้มสุก ซึ่งถ้าประชาชนปฏิบัติตามได้ ก็สามารถลดอัดตราการเกิดโรคลงได้อย่างแน่นอนและกรรมวิธีในการต้มน้ำก็ทำได้ง่าย เสียค่าใช่จ่ายน้อย เหมาะสมที่จะใช้ภายในครอบครัวหรือส่วนบุคคล




2. การกลั่น ( Distillation )

การปรับปรุงคุณภาพของน้ำโดยวิธีการกลั่นนี้จะสามารถปรับปรุงคุณภาพของน้ำได้ดีที่สุด คือสามารถทำให้น้ำปราศจากคุณสมบัติ ทั้งทางเคมี ฟิสิกส์ และบัคเตรีแต่กรรมวิธีแบบนี้ค่อนข้างจะยุ่งยาก และค่าดำเนินงานค่อนข้างจะแพง ส่วนใหญ่วิธีการกลั่นน้ำจะนำมาใช้นั้นมักจะกระทำในวงจำกัด ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ และกิจการแพทย์เท่านั้น เพราะกิจการทั้งสองอย่างต้องการน้ำที่คุณภาพสูง เช่น เตรียมเป็นน้ำกลั่นเพื่อผสมยา เพื่อใช้รับประทาน และฉีดเข้าไปในร่างกายมนุษย์ แต่ถึงอย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้มีบางประเทศที่มีปัญหาในเรื่องการหาแหล่งน้ำจืด เพื่อนำมาบริโภค เช่น บางประเทศในตะวันออกกลางก็พยายามใช้วิธีการกลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอที่จะใช้เป็นน้ำประปา เพื่อบริการให้แก่ชุมชน แต่ก็ยังนิยมใช้กันไม่แพร่หลายมากนักเพราะการลงทุนต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก และค่าดำเนินงานก็แพงด้วย




3. การใช้สารเคมี (Chemical treatment)

มีสารเคมีอยู่หลายชนิดที่สามารถทำลายเชื้อโรคในน้ำได้


ก. ด่างทับทิม (Potassium Permanganate) เมื่อละลายในน้ำจะเป็นสีชมพูหรือชมพูอมม่วง ด่างทับทิมสามารถทำลายเชื้อโรคได้เพียงบางชนิดเท่านั้น พวกบัคเตรีที่มีสปอร์ ด่างทับทิมไม่สามารถทำลายได้ และประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์จะต้องใช้เวลานาน ด่างทับทิมที่นำมาละลายในน้ำอัตรา 1 :100 ถึง 1 : 5000 จะสามารถทำลายเชื้อโรคได้ต้องใช้เวลานานเป็นชั่วโมง ส่วนความหมาย 1 : 5000 หมายความว่า จะใช้ด่างทับทิม 1 กรัม ละลายในน้ำ 5000 กรัม หรือ 5000 ลูกบาศก์เซนติเมตร


ข. ทิงเจอร์ไอโอดีน เราสามารถใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนที่ใช้ใส่แผล ที่มีความแรงขนาด 1 ½ - 2 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีฉุกเฉินหรือกรณีจำเป็นที่ต้องทำความสะอาดเล็กน้อย ขนาดที่ใช้ คือ ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนเพียง 2 หยด ในน้ำ 1 ลิตร น้ำที่ใส่ทิงเจอร์ไอโอดีนแล้วจะมีรสเฝื่อน จะแก้รสเฝื่อนได้โดยเติมโซเดียวไทโอซัลเฟต 7 % ลงไป 2 หยด


ค. คลอรีน ในการทำลายเชื้อโรคในน้ำ สารที่นิยมใช้กันมาก คือ คลอรีน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคได้สูงและราคาไม่สู้จะแพงมากนัก สีเป็นสีขาว ไม่เป็นที่รังเกียจ ยกเว้นจะมีกลิ่นเหม็นเล็กน้อย สารคลอรีนโดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ ชนิดผง และก๊าซ
1. ผงคลอรีน (Chlorine Powder) มีอยู่หลายแบบ เช่น แคลเซียมไฮโปรคลอไรด์ Ca(OCl)2 มักจะมีความเข้มข้นระหว่าง 60-70 % โซเดียมไฮโปรคลอไรด์ Na(OCl) มักจะมีความเข้มข้นของคลอรีนอยู่ประมาณ 16 % และ chloride of lime (bleaching powder) จะมีความเข้มข้นของคลอรีนประมาณ 35 %
2. ก๊าซคลอรีน (Chlorine Gas) จะมีความเข้มข้นของคลอรีนอยู่ประมาณ 100 % การทำลายเชื้อโรคในน้ำเราเรียกว่า Chlorination การใส่คลอรีนลงไปในน้ำเพื่อทำลายเชื้อโรค การที่จะใช้ประเภทก๊าซหรือผงคลอรีนก็มักจะขึ้นอยู่กับประเภทของการใช้ เช่น ใช้ภายในบ้านเรือนหรือกิจการประปาขนาดเล็ก มักจะใช้คลอรีนชนิดผง เพราะสะดวกและปลอดภัยต่อการใช้การขนส่งระยะทางไกล ส่วนในกิจการประปาใหญ่ ๆ มักจะใช้คลอรีนก๊าซเป็นส่วนใหญ่ คือการใช้ต้องอาศัยเครื่องอัตโนมัติจึงจะใช้ได้
การใช้คลอรีนประเภทใดก็ตาม องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนะว่า น้ำประปาไม่ควรจะมีปริมาณของคลอรีนเหลือค้าง (residual chlorine) น้อยกว่า 0.5 พีพีเอ็ม และระยะเวลาของการออกฤทธิ์เพื่อการทำลายเชื้อโรค (contact time) ไม่ควรน้อยกว่า 30 นาที ปริมาณคลอรีนที่ใช้ใส่ลงในน้ำจะเพียงพอต่อการทำลายเชื้อโรคหรือไม่ เราสามารถทำการตรวจหา residual chlorine ( คือ จำนวนคลอรีนที่เหลืออยู่ในน้ำ ) ผลการตรวจเราจะวินิจฉัยได้ว่าจำนวนคลอรีนที่ใส่ลงไปนั้น เพียงพอที่จะทำลายเชื้อโรคได้หรือไม่ การทดสอบมักจะกระทำการตรวจหลังจากที่เติมคลอรีนลงไปในน้ำแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง
การเติมคลอรีนลงในน้ำ เช่น ในน้ำที่ทำน้ำแข็งในน้ำประปา จะต้องใส่คลอรีนเป็นประจำ และจะต้องตรวจพบ Residual chlorine ไม่ต่ำกว่า 0.2 – 1 พีพีเอ็ม



ส่วนการเติมคลอรีนในคราวที่เกิดโรคระบาด เช่น ในกรณีที่เกิดโรคระบาดทางน้ำ การป้องกันเราต้องใส่คลอรีนให้มากขึ้นและให้มีคลอรีนเหลือค้างมากกว่าปกติ คือ ไม่ต่ำกว่า 0.5-2 พีพีเอ็ม
ในการเติมคลอรีนจะใช้ปริมาณมากน้อยเพียงใดก็สุดแต่ว่าน้ำนั้นสะอาดหรือสกปรก ในกรณีที่น้ำสกปรก ก็จำเป็นต้องใช้คลอรีนมาก เพราะจำนวนคลอรีนที่เติมลงไปทั้งหมดเรียกว่า Total chlorine จำนวนคลอรีนบางส่วนจะไปทำลายเชื้อโรคและทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์และอนินทรีย์ต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำ จำนวนคลอรีนส่วนนี้เราเรียกว่า chlorine drmand
หลังจากคลอรีนทำปฏิกิริยาดังกล่าวแล้ว จะมีคลอรีนอีกจำนวนหนึ่งเหลืออยู่เรียกว่า Residual chlorine คือจำนวนคลอรีนที่เหลืออยู่ในน้ำ เพื่อที่จะทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ ที่หลงเหลือหรือปะปน (contaminte) เข้าไปใหม่ในระหว่างที่จ่ายน้ำออกไปจากจุดที่เริ่มจ่ายน้ำจนถึงปลายสุดที่ประชาชนใช้น้ำ
Total chlorine = chlorine drmand + residual chlorine
ปูนคลอรีนหรือสารประกอบของคลอรีน จะบอกความเข้มข้นของคลอรีนเป็นเปอร์เซ็นต์ หมายความว่าสารประกอบนั้นมีคลอรีนที่บริสุทธิ์ หรือเป็นตัวที่ใช้ทำลายเชื้อโรค เช่น
ปูนคอลรีน 35 % หมายความว่าปูนคลอรีนนี้ จะต้องอาศัยสูตรต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณ คือ
ในการคำนวณสำหรับการใช้ปูนคลอรีนนี้ จะต้องอาศัยสูตรต่าง ๆ ที่ใช้คำนวณ คือ
ปริมาตรของรูปสี่เหลี่ยม = กว้าง x ยาว x สูง
= ¶r2 x สูง หรือ ¶D2/4 x สูง
¶ = 22/7 = 3.14
R = รัศมีของวงกลม หรือ ½ เส้นผ่าศูนย์กลาง
D = เส้นผ่าศูนย์กลาง
ส่วนสูง = ความลึกของน้ำ
น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร
1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
หรือ 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือ 1,000,000 กรัม
น้ำ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 กรัม (โดยน้ำหนัก)

ตัวอย่างที่ 1 ในถังเก็บน้ำแห่งหนึ่ง กว้าง 3 เมตร ยาว 5 เมตร มีน้ำลึก 2เมตร ต้องการใช้ปูนคลอรีนชนิด 35% ใส่ เพื่อทำลายเชื้อโรคในน้ำที่มีความเข้มข้น 5 พี พี เอ็ม ต้องใช้คลอรีนจำนวนเท่าใด
ปริมาตรของถังน้ำ = กว้าง X ยาว X สูง
= 3 X 5 X 2
= 30 ลูกบาศก์เมตร
น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000,000 กรัม
ถ้าน้ำ 30ลูกบาศก์เมตรมี = 30 X 1,000,000 กรัม
ต้องใส่คลอรีนให้มีความเข้มข้น 5 กรัม จึงจะได้ 5 พี พี เอ็ม
แต่ในถังน้ำมีน้ำอยู่ 30 ลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้นต้องใช้คลอรีน
= 5 X 30 = 150 กรัม
ใช้ปูนคลอรีนชนิด 35% หมายความว่า มีคลอลีนบริสุทธิ์ 35 กรัม ในเนื้อปูนคลอรีน 100 กรัม
ถ้าต้องการใช้คลอรีนบริสุทธิ์ 150 กรัม จะต้องใช้เนื้อปูนคลอรีน 100/35 x 150
= 428.6
จะต้องใช้ปูนคลอรีนในการทำลายเชื้อโรคในถังเก็บน้ำ = 428.6 กรัม

ตัวอย่างที่ 2 บ่อน้ำแห่งหนึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.50 เมตร ลึก 10 เมตร แต่มีน้ำลึกเพียง 2เมตร
ถ้าต้องการทำลายเชื้อโรคด้วยปูนคลอรีนชนิด 70% จะต้องใช้ปูนคลอรีนจำนวนเท่าใด เพื่อให้คลอรีนมีความเข้มข้น 12 พี พี เอ็ม จึงจะทำลายเชื้อโรคหมดพอดี และยังต้องการให้คลอลีนเหลือตกค้างอีก 2 พี พี เอ็ม
ปริมาตรของน้ำในบ่อ = ¶r2 x ความลึก
= 22/7 x 1.25 x 1.25 x 2
= 4.19 ลูกบาศก์เมตร
โจทย์ต้องการใส่คลอรีนทำลายเชื้อโรคหมดเพียง 12 พี พี เอ็มให้เหลือเป็นครอลีนตกค้างเพียง 2 พี พี เอ็ม รวม เป็น 14 พี พีเอ็ม
ในน้ำ 1 ลูกบากศก์เมตร ( หรือ 1, 000,000 กรัม) ต้องการใส่คลอลีน 14 กรัม
น้ำในบ่อ 4.91 ลูกบากศก์เมตรต้องใช้ครอลีน = 14 X 4.91 กรัม
= 68.74 กรัม
แต่ใช้ปูนคลอรีนชนิด 70%
มีคลอรีน 70 กรัม จะต้องใช้ปูนคลอลีน 100 กรัม
68.74 กรัม จะต้องใช้ปูนคลอรีน = 100/70 x 68.74
จะต้องใช้ปูนคลอรีนทำลายเชื้อโรคในบ่อน้ำ = 98.2 กรัม




4. การกรอง (Filtration)

เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลดีและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำ สามารถใช้ได้ทั้งในกิจการของประปาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ หรือแม้แต่นำเองภายในบ้าน(Home madesand filter) การกรองอาศัยหลักการที่ว่าเอาน้ำที่เข้าใจว่าสกปรกมาผ่านวัสดุบางอย่างที่เป็นตัวกรอง (filter media) โดยที่วัสดุนี้ต้องมีคุณสมบัติหรือสามารถกักกันเอาสิ่งสกปรกที่ติดมากับน้ำมิให้ไหลผ่านลงไปได้
โดยทั่วไปแล้วการกรองมักจะมุ่งถึงการลดความสกปรกทางด้านฟิสิกส์และบัคเตรีเป็นส่วนใหญ่ เช่น ลดความขุ่นและลดจำนวนบัคเตรีและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆที่มีอยู่ในน้ำให้เหลือน้อยลง วัสดุที่ใช้กรอง เช่น Membrance filter หรือใช้กรวดหิน และทรายเป็นวัสดุกรองได้ การกรองที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือ การกรองด้วยทรายแบบช้า (slow sand filter) กับการกรองด้วยทรายแบบเร็ว (rapid filter)

1. เครื่องกรองด้วยทรายแบบช้า (slow and filter) เป็นวิธีการกรองด้วยทรายโดยให้น้ำไหลผ่านชั้นทรายช้าๆ ในอัตราไม่เกิน 54 ล้านแกลลอนต่อเนื้อที่ผิวทราย 1 เอเคอร์ต่อวัน หรือ 50แกลลอนต่อเนื้อที่ผิวทราย 1 ตารางฟุต ใน 1วัน ตัวกรองประกอบด้วยชั้นทรายหนาประมาณ2.5ฟุต ขนาดของเม็ดทราย 0.25 – 0.35 มิลลิเมตร ให้มีขนาดเดียวกัน (uniformity) ชั้นกรวดและชั้นหินหนาประมาร 18 นิ้ว โดยใส่รองไว้ก้นถัง เพื่อป้องกันทรายมิให้อุดตันจะทำให้น้ำไหลได้สะดวกรวดเร็วไปยังก้นถัง ดังนั้น พวกตะกอนและจุลินทรีย์จะถูกกักไว้บนผิวหน้าของทรายประสิทธิภาพของการกรองแบบนี้สามารถกรองบัคเตรีได้ถึง 98-99% และสามารถขจัดความขุ่นจาก 50 พี พี เอ็ม ให้เหลือเพียง5 พี พี เอ็ม ถ้าหากน้ำมีความขุ่นมากกว่านี้ ควรจะใส่สารเคมี เช่น สารส้มเข้าช่วย เพื่อลดความขุ่นลงเสียก่อน มิฉะนั้นจะทำให้หม้อกรองอุดตันเร็วกว่าปรกติ ประการที่ 2 การทำความสะอาดหม้อกรองทำได้โดยการตักเอาผิวหน้าของชั้นทรายข้างหน้าออกเพื่อนำไปล้าง แล้วนำทรายใส่ตามเดิม หรือจะใช้วิธีขุดเอาทรายผิวหน้าออกทิ้งเลย แล้วเอาทรายใหม่ใส่ลงไปเหมือนเดิม ประการที่ 3 ระยะเวลาของการทำความสะอาดผิวหน้าของหม้อกรองประมาร 7 วันต่อครั้งแต่ก็มักขึ้นอยู่กับความขุ่นของน้ำที่ใช้กรองว่าขุ่นมากหรือน้อย ถ้าน้ำที่มีความขุ่นมาก ระยะเวลาที่จะทำความสะอาดอาจะทำบ่อยครั้งขึ้น เช่น อาจเป็นประมาณ 3 วัน ต่อครั้ง และประการสุดท้ายก็คือ ควรคำนึงถึงอัตราการกรอง (การไหลของน้ำผ่านหม้อกรอง) ถ้าเร่งอัตราการกรองมากเกินไปจะทำให้ความปลอดภัยน้อยลง

2. เครื่องกรองด้วยทรายแบบเร็ว (Rapid Sand Filter) การกรองแบบนี้เป็นแบบที่พัฒนามาจากการกรองแบบช้า ซึ่งใช้ในกิจการประปาของอังกฤษ เมื่อ ค. ศ. 1829 ต่อมาในปี ค.ศ. 1893 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มดัดแปลงมาใช้เครื่องก่นแบบเร็ว โดยสามารถกรองน้ำได้ปริมาตรสูงถึง 125 ล้านแกลลอนต่อเนื้อที่ ของทราย 1 เอเคอร์ต่อวัน หรือประมาณ 2 แกลลอนต่อเนื้อที่ผิวหน้าทราย1 ตารางฟุตต่อนาที ตัวกรองประกอบด้วยชั้นกรวดและชั้นหิน มีความหนาประมาณ 30 นิ้ว ชันทราย(bed sand) มีความหนา 18 นิ้ว ขนาดของเม็ดทราย โดยประมาร 0.4 – 0.8 มิลลิเมตร ข้อเสนอแนะการใช้เครื่องกรองแบบเร็ว คือ น้ำดิบก่อนที่จะนำมาผ่านเครื่องกรองจะต้องปรับปรุงคุณภาพเสียก่อน เช่น การผสมสารส้ม เพื่อให้เกิดการตกตะกอนโดยทำให้น้ำมีความขุ่นเหลือประมาณ 10 หน่วย แล้วจึงนำมาเข่าถังกรอง เพื่อทำให้กรอง ได้ปริมาณมากและรวดเร็ว การล้างเครื่องกรองแบบ เร็วโดยใช้น้ำที่สะอาดแล้วปล่อยเข้าถังกรองโดยอาศัยความดันอากาศ (Pressure) เข้าช่วยเพื่อขจัดตะกอนออกให้หมด การล้างแบบนี้เรียกว่า back washing ซึ่งทำได้ง่ายและรวดเร็ว ประสิทธิภาพของการกรองเร็วคือสามารถกรองบัคเตรีได้ประมาร 80-90% เพราะฉะนั้นการทำลายเชื้อโรคที่เหลือตกค้างในน้ำจำเป็นต้องอาศัยวิธีอื่น เช่น ใช้สารคลอรีนเข้าช่วย (chlorination) จึงทำให้น้ำปลอดภัยต่อการใช้บริโภค



ข้อเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการกรองน้ำ ระหว่างกรองน้ำแบบเร็วกับกรองน้ำแบบช้า

การกรองแบบเร็ว

ข้อดี
1. ราคาที่ดินถูกกว่า เพราะในเมืองใหญ่มีปัญหาราคาที่ดินสำคัญมาก เพราะใช้ที่ดินน้อย
2. การขยายโรงงานได้ง่ายกว่า
3. มีปริมาณน้ำเพียงพอที่จะจ่าย เพราะอัตราการกรองได้เร็ว
4. ค่าดำเนินงาน Operation ถูก เพราะใช้เจ้าหน้าที่น้อยซึ่งส่วนใหญ่ใช้เครื่องจักรทำงาน

ข้อเสีย
1. ค่าก่อสร้าง cost of construction แพง
2. ค่าสึกหรอสูง

การกรองแบบช้า

ข้อดี
1. ค่าก่อสร้าง cost of construction ถูก
2. ค่าสึกหรอน้อย

ข้อเสีย
1. ราคาที่ดินแพงกว่า (เมื่อเปรียบเทียบกันในเมืองใหญ่ๆ)
2. การขยายโรงงานได้ยาก เพราะต้องการเนื้อที่มาก
3. ค่าดำเนินงานแพง (operation) เพราะต้องจ้างคนทำงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่มีเครื่องจักรทำงาน
4. กรองน้ำได้ปริมาณน้อย ไม่พอใช้

การประปาฉุกเฉิน

การประปาฉุกเฉินและการปรับปรุงคุณภาพ( Emergency Water Supply and Treatment)

การประปาฉุกเฉินอาจมีความจำเป็นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์อย่างรีบด่วนที่ผิดปกติขึ้น เช่น ในกรณีน้ำท่วม ไฟไหม้หรือผู้คนอพยพหนีภัย หรือแม้กระทั่งการเดินทางไปในแดนทุรกันดาร หาน้ำดื่มที่ปรับปรุงคุณภาพเช่นที่เคยอาศัยอยู่ในบ้านหรือในเมืองไม่ได้ แต่ก็พอที่จะอาศัยแนวทางการปรับปรุงน้ำสะอาดมาประยุกต์ใช้ ก็อาจทำน้ำดื่มที่สกปรกกลายเป็นน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยได้ ถึงแม้น้ำบางแหล่ง เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนองหรือสระน้ำ ที่เรามองเห็นว่าน้ำใสสะอาดน่าจะดื่มได้ แต่น้ำจากแหล่งน้ำเหล่านี้ล้วนมีแต่สิ่งสกปรกต่าง ๆ เจือปนอยู่ ซึ่งเมื่อเรารับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดโรคได้ การตัดสินว่า น้ำสะอาดหรือไม่ทำได้โดยการทดสอบหาเชื้อในห้องปฏิบัติการ แต่ภายใต้เหตุการณ์ฉุกเฉินจะมานั่งรอผลการตรวจอยู่ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และไหวพริบที่จะช่วยเหลือเพื่อเอาชีวิตรอด โดยการทำการปรับปรุงคุณภาพของน้ำโดยวิธีใดวิธีหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น


1.การต้ม (Boiling)
ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายมาก โดยนำน้ำจากแหล่งที่คิดว่าจะนำมาเป็นน้ำดื่มใส่ภาชนะ ต้มให้เดือดนานประมาณ 15 นาที ซึ่งสามารถทำลายเชื้อโรคให้ตายได้


2. เติมสารคลอรีน (Chlorination)
นับว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดวิธีหนึ่งที่ปรับปรุงคุณภาพของน้ำ ส่วนมากนิยมใส่คลอรีนลงไปในน้ำที่ไม่สู้จะขุ่นมากนัก เช่น น้ำที่นำมาจากบ่อ ทะเลสาบ หรือแม่น้ำหรือจากแหล่งอื่น ๆ วิธีทำคือนำเอาปูนคลอรีนมาละลายกับน้ำ เพื่อทำเป็น Stock -Solution เสียก่อน แล้วจึงหยดหรือเติมคลอรีนที่ละลายในน้ำดีแล้วลงไปในน้ำที่เราปรับปรุงคุณภาพ การจะเติมมากน้อยแค่ไหนก็ทำได้โดยอาศัยวิธีการคำนวณ เช่น ทราบปริมาณของน้ำ ทราบความเข้มข้นของคลอรีน ก็จะสามารถจะเติมคลอรีนลงไปเท่าใด จึงจะให้มีเหลือ คลอรีนตกค้าง อยู่ระหว่าง 0.2-1 พี พี เอ็ม แล้วปล่อยให้น้ำที่เติมคลอรีนแล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วจึงนำมาใช้เป็นน้ำดื่มน้ำใช้ได้ การใช้คลอรีนมี 2 แบบ คือ

2.1 การใช้คลอรีนชนิดผง พวกปูนคลอรีนชนิดแคลเซียมมีมีเนื้อคลอรีนบริสุทธิ์ประมาณ 70 % เรานำมา 1 ช้อนชาเทใส่ในน้ำประมาณ 2 แกลลอน นำมาผสมให้เข้ากันดีก็จะได้ Stock –Solution มีความเข้มข้นประมาณ 500พี พี เอ็ม ต่อจากนั้นถ้าเราต้องการทำน้ำให้สะอาดจำนวนเท่าใดก็สามารถทำได้โดยเอาน้ำยาคลอรีนที่ทำเป็น Stock Solution 1 ส่วน ต่อน้ำที่ต้องการนำมาใช้ 100 ส่วน

2.2 ใช้คลอรีนชนิดเม็ด คลอรีนชนิดเม็ดนี้ จะมีบริษัททำไว้ขาย ซึ่งหาซื้อได้ตามท้องตลาด ส่วนความเข้ข้นของคลอรีนและขนาดใช้จะมีใบฉลากแจ้งติดอยู่ แต่วิธการใช้โดยทั่ว ๆ ไป จะใช้คลอรีน 1 เม็ดต่อน้ำ 1 ควอร์ต2.3 ใช้ไอโอดีน มี 2 แบบ1. ใช้ทิงเจอร์ ไอโอดีนชนิดน้ำ 2 % โดยเติมหรือหยดจำนวน 5 หยดลงไปในน้ำ1 ควอร์ต ถ้าเป็นน้ำที่มีความขุ่นมากหน่อยก็ให้เติมลงไปประมาณ 10 หยด ต่อน้ำ 1 ควอร์ต ปล่อยตั้งทิ้งไว้นาน 30 นาที จึงนำไปใช้ดื่มได้2. ใช้ไอโอดีนชนิดเม็ด ซึ่งทำขายในท้องตลาด โดยบริษัทจะพิมพ์ฉลากวิธีใช้กำกับเอาไว้ แต่ถ้าไม่มีฉลากแนะนำ ก็อาจใช้ได้โดยใช้ไอโอดีน 1 เม็ดต่อน้ำ 1 ควอร์ต


3 การกรอง (Filtration)
การกรองที่เหมาะสำหรับใช้ในรายที่ฉุกเฉิน คือใช้กรองน้ำแบบกรองด้วยทรายแบบช้า เป็นแบบที่ทำภายในบ้าน ประกอบด้วยปี๊บหรือถังหรือตุ่มน้ำ โดยเจาะรูที่ก้นแล้วใส่หินและกรวดหนาประมาณ 19 นิ้ว แล้วเททรายชนิดละเอียดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณ 0.25-0.35 มิลลิลิตร ให้ชั้นทรายหนาประมาณ 2-5 ฟุต จึงจะสามารถกรองน้ำได้ในอัตรา 3 แกลลอน/เนื้อทราย 1 ตารางฟุต ใน 1 นาที เพราะวิธีการกรองแบบ Slow sand filter สามารถกรองความขุ่นและกรองบัคเตรีได้ถึง 99 %

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550

พาหะและสื่อนำโรค

ความหมายของพาหะและสื่อนำโรค


พาหะนำโรค หมายถึง คนและสัตว์ซึ่งรวมทั้งสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง

สื่อนำโรค หมายถึง อาหาร น้ำ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา


การควบคุมและกำจัดพาหะและสื่อนำโรคดำเนินการได้ 4 วิธีคือ


1. การป้องกันโรค Prevention
2. การควบคุมโรค Control
3. การกำจัดโรค Elimination
4. การกวาดล้างโรค Eradication
ส่วนการที่จะนำวิธีใดมาใช้นั้นขึ้นอยู่ที่ความเหมาะสม
ต่อพาหะ และสื่อนำโรคชนิดนั้นๆ


สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพาหะและสื่อนำโรค


-สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับกายภาพ

-สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ

-สิ่งแวดล้อมทางเคมี

-สิ่งแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ

-ลักษณะของแต่ละบุคคล


แนวทางของการควบคุมและกำจัดพาหะและสื่อนำโรค


- การแยกผู้ป่วยและการกักกันโรค (Isolation and Quarantine)
- การทำลายเชื้อ (Disinfection)

- การให้สุขศึกษา (Health education)
- การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มแรกและให้การรักษาโดยฉับพลัน
- สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Immunization)
- การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Environmental Sanitation)
- การใช้กฎหมาย


การควบคุมและกำจัดพาหะนำโรค


คนที่ได้รับเชื้อโรคแล้วแต่ไม่มีอาการของโรคปรากฏ จึงทำให้นำโรคไปติดผู้อื่นได้ อย่างกว้างขวางโดยไม่ตั้งใจ จำเป็นต้องควบคุมและกำจัดโรคโดยการส่งเสริมสุขภาพ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มแรก และให้การรักษาโดยฉับพลัน


สัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิดที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน ได้แก่ หมู วัว ควาย สุนัข แมว ฯลฯ โรคที่เกิดขึ้นจากสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นพาหะนั้นมีอันตรายถึงตายได้ เช่น โรคกลัวน้ำ เป็นต้น การควบคุมสัตว์จำนวนนี้จึงใช้มาตรการในการควบคุมหรือกำจัดให้น้อยลงหรือหมดไป


สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นพาหะนำโรคสู่คน ทำให้เกิดปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบัน เช่น ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก จาก ยุง, โรคฉี่หนู จาก หนู วิธีการควบคุมและกำจัดสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นพาหะนำโรค จะต้องใช้หลายวิธีผสมผสาน

การสุขาภิบาลตลาด

ตลาดสด หมายถึง สถานที่ซึ่งได้จัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็น ที่ประชุมสำหรับขายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ปลา ผักและผลไม้ หรืออาหาร อันมีสภาพเป็นของสดและเสียง่าย...

พระราชบัญญัติสาธารณสุขได้แบ่งตลาดออกเป็น 3 ชนิด
1. ตลาดสาธารณะ
2. ตลาดเอกชน
3. ตลาดปรับอากาศ(ซุปเปอร์มาร์เก็ต)


ทางด้านการสุขาภิบาลตลาดปรับอากาศ มีความเหมาะสมมากกว่าตลาดสาธารณะและตลาดเอกชน
ความแตกต่างระหว่าง ตลาดสาธารณะและตลาดเอกชนก็คือ
- ตลาดสาธารณะนั้นมีเทศบาลเป็นเจ้าของ
- ตลาดเอกชนนั้นเอกชนเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยได้รับอนุญาตจากเทศบาลเท่านั้น
และตลาดทั้ง 3 แบบ ยังใช้กฏหมายข้อบังคับต่างกันด้วย

ตลาดในประเทศไทยนั้นจะมีการซื้อและขายอาหารกันวันละ 2 ครั้งคือ ตอนเช้าและตอนบ่าย


เนื่องจากมีผู้คนมาชุมชุมหาซื้ออาหารอย่างมากมาย จึงทำให้ตลาดก็อาจจะกลายเป็นแหล่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอนามัยของคนได้ เช่น เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคไปสู่คน ได้แก่... โรคทางเดินอาหาร โรคอาหารเป็นพิษ โรคทางเดินหายใจ และโรคผิวหนังบางชนิด เป็นต้น


หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตลาด

- ลดการก่อขยะ

- นำขยะกลับมาใช้ใหม่

- นำกลับมาใช้เป็นพลังงาน

- การกำจัดอย่างถูกวิธี




-สถานที่ตั้งและการปลูกสร้างตลาดที่ถูกสุขลักษณะ

-การจัดภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ

-การสุขาภิบาลอาหารในตลาด ควรจัดให้ถูกต้อง และเหมาะสม

-การจัดให้มีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดและพอเพียง

-การจัดให้มีห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ และที่ล้างมือให้สะอาด-การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม

-การระบายน้ำโสโครกจากตลาด

-การตรวจตราด้านความปลอดภัยเพื่อเป็นการป้องกันอันตราย

-จัดให้มีการป้องกันและแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญต่างๆ

-การตรวจสุขภาพของผู้ขายอาหารในตลาดประจำปี

-การตรวจอาหารที่นำมาขายในตลาด

-การควบคุมตลาดในระหว่างเกิดโรคระบาด




อันตรายต่อสุขภาพอนามัยที่เกิดจากการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตลาดที่ไม่เหมาะสม


1)อันตรายที่เกิดจากอาหารปนเปื้อนเชื้อโรค

-อาหารปนเปื้อนเชื้อโรคก่อนที่จะถึงตลาด

-อาหารปนเปื้อนเชื้อโรคที่ตลาด

2)อันตรายที่เกิดจากความไม่สะอาดและความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย




แนวทางการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตลาด


§ การปรับปรุงกฎหมายหรือพระราชบัญญัติ
§ การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตลาด
§ การกำหนดให้มีการตรวจตราการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตลาด
§ การให้การศึกษาและอบรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาด
§ การบำรุงรักษาตลาด

การสุขาภิบาลอาหาร (Food sanitation)

เรื่อง การสุขาภิบาลอาหาร
ความหมายและความสำคัญของการสุขาภิบาลอาหาร
1. ความหมายของสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาล (Food sanitation) เป็นการจัดการและควบคุมอาหารให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค หนอนพยาธิ และสารพิษซึ่งเป็นอันตรายหรืออาจจะเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย และการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้
อาหารที่มนุษย์เราใช้บริโภคกันนั้นมีมากมายหลายชนิด ฉะนั้นการดำเนินงานทางด้านการสุขาภิบาลอาหารในแต่ละชนิด จึงแตกต่างกันไปตามสาเหตุที่ทำให้อาหารนั้นสกปรก และเสื่อมคุณภาพ ดังนั้นการจัดการและควบคุมอาหารแต่ละชนิดให้สะอาดจึงต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ และพยายามควบคุมและกำจัดสาเหตุที่จะทำให้อาหารสกปรกและเสื่อมคุณภาพในกระบวนการต่างๆ ดังกล่าวก่อนจะถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด การจัดการและควบคุมอาหารให้สะอาดตามหลักการสุขาภิบาลอาหารนั้น ควรจัดดำเนินการให้มีทุกระดับทั้งส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนซึ่งเป็นผู้บริโภคได้กินอาหารที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค หนอนพยาธิ และสารพิษ
2. ความสำคัญของการสุขาภิบาลอาหาร
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญของมนุษย์ ทุกคนต้องบริโภคอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่การบริโภคอาหารนั้นถ้าคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ ความอร่อย ความน่าบริโภคและการกินให้อิ่มถือได้ว่าเป็นการไม่เพียงพอและ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการบริโภคอาหารนอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว คือความสะอาดของอาหารและความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งนี้เพราะว่าอาหารที่เราใช้บริโภคนั้นแม้ว่าจะมีรสอร่อย แต่ถ้าเป็นอาหารสกปรก ย่อมจะมีอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคเกิดอาการปวดท้อง อุจจาระร่วง อาเจียน เวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย เป็นโรคพยาธิทำให้ผอม ซูบซีด หรือแม้แต่เกิดการเจ็บป่วยในลักษณะเป็นโรคเรื้อรังที่เรียกว่า “ตายผ่อนส่ง” โรคที่เกิดนี้เรียกว่า “โรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อนำ” ลักษณะความรุนแรงของการเป็นโรคนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของเชื้อโรค หนอนพยาธิ หรือสารพิษบริโภคเข้าไป ควรแก้ปัญหาด้วยการให้คนเราบริโภคอาหารที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค หนอนพยาธิ และสารพิษ นั่นคือจะต้องมีการจัดการและควบคุมอาหารให้สะอาด เรียกว่า การสุขาภิบาลอาหาร
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้อาหารสกปรกและการเสื่อมคุณภาพของอาหาร
1. ปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้อาหารสกปรก
อาหารสกปรกได้เนื่องจากมีสิ่งสกปรกปะปนลงสู่อาหาร สิ่งสกปรกที่สำคัญและมีพิษภัยต่อผู้บริโภคคือ เชื้อโรค หนอนพยาธิ และสารพิษ สิ่งเหล่านี้สามารถลงสู่อาหารได้โดยมีสื่อนำทำให้ปะปนลงไปในอาหาร ในกระบวนการผลิต การขนส่ง การเตรียม การปรุง การเก็บ การจำหน่าย การเสิร์ฟอาหาร เป็นต้น ซึ่งลักษณะการทำให้อาหารสกปรกเกิดขึ้นได้ ดังนี้
1. สิ่งสกปรก เช่น เชื้อโรค หนอนพยาธิ และสารพิษ
2. สื่อนำ เช่น แมลง สัตว์ บุคคล (ผู้สัมผัสอาหาร) ภาชนะและอุปกรณ์สัมผัสอาหาร สิ่งแวดล้อม น้ำ ดิน ปุ๋ย อากาศ ฝุ่นละออง ฯลฯ
3. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น การผลิต การขนส่ง การเตรียม การปรุง การเก็บ การจำหน่าย การเสิร์ฟ ฯลฯ
4. อาหารสกปรก
5. ผู้บริโภค

พื้นฐานการสุขาภิบาลอาหาร
อาหารและน้ำดื่มเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์และเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าปัจจุบันโรคติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารเป็นสาเหตุของการป่วยและตายที่สำคัญของประชาชนในประเทศไทย เช่น อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์และโรคท้องร่วงชนิดต่าง ๆ ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่สำคัญบั่นทอนชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชน วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำการแก้ปัญหานี้ก็คือ การป้องกันโรค โดยทำการควบคุมการสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการแพร่โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ดังนั้นจึงเห็นควรทำการควบคุมปรับปรุงวิธีการล้างจานชามภาชนะใส่อาหาร ตลอดถึงเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ การกำจัดอุจจาระ สิ่งโสโครกและสิ่งปฏิกูลอื่น ๆ ให้ถูกต้องสุขลักษณะยิ่งในปัจจุบันนี้ อัตราการเพิ่มของประชากรไทยค่อนข้างจะสูงและรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตชุมชนใหญ่ ๆ เช่น เขตสุขาภิบาล เขตเทศบาล กำลังวิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ประชาชนส่วนมากต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน การรับประทานอาหาร จำเป็นต้องอาศัยร้านอาหาร ซึ่งถ้าหากจำหน่ายอาหารเหล่านั้นมิได้รับความสนใจจากเจ้าของร้านในการที่จะปรับปรุง หรือควบคุม หรือเอาใจใส่อย่างเข้มงวดในเรื่องความสะอาดแล้ว ตราบนั้นก็จะไม่สามารถทำการควบคุมหรือลดอัตราการป่วยและการตายของประชากร ที่มีสาเหตุมาจากโรคติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารได้เลย

สรุป
การสุขาภิบาลอาหารเป็นการดำเนินการด้วยวิธีต่าง ๆ ที่จัดการเกี่ยวกับอาหารในด้าน การปรับปรุง การบำรุงรักษา และแก้ไขเพื่อให้อาหารที่บริโภคเข้าสู่ร่างกายแล้วมีผลดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้เนื่องจากอาหารมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดโดยเพื่อใช้ในการสร้างพลังงาน ช่วยให้ร่างกายเกิดความกระปรี้กระเปร่า และช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงต้านทานโรคภัยต่าง ๆ ซึ่งสารอาหารที่สำคัญที่ร่างกายต้องการมี 6 ประเภท ได้แต่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ
อาหารแม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมากแต่อาหารยังสามารถให้โทษต่อร่างกายได้เช่น โรคเนื่องจากมีจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร โรคเนื่องจากอาหารมีหนอนพยาธิ และโรคเนื่องจากอาหารมีสารพิษหรือสารเคมี ทั้งนี้และทั้งนั้นหากมีการจัดการสุขาภิบาลในด้านสถานที่ตั้ง อาคารที่ใช้ประกอบอาหาร สุขวิทยาส่วนบุคคลและอื่น ๆ น่าจะมีส่วนช่วยลดการเกิดโรคซึ่งเกิดจากมีอาหารเป็นสื่อนำ

การสุขาภิบาล (Sanitaion)

การสุขาภิบาล (Sanitaion)

คือ การดำเนิน การควบคุม ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง แก้ไขสภาวะของสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินชีวิตให้อยู่ในลักษณะที่ดี ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพอนามัย
สำหรับความหมายการสุขาภิบาลของสหรัฐอเมริกาได้ให้ไว้ดังนี้คือ “Sanitation is a way of life. It is the quality of living that is expressed in the clean home, the clean farm, the clean business and industry, the clean neighbourhood, the clean community”.
ส่วนองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความหมายไว้ว่า SANITATION: is the prevention of diseases by controlling or eliminating the environmental factors which from links in the chain of transmission.
สรุป การสุขาภิบาล เป็นการป้องกันโรคโดยการกำจัด ควบคุม และการปรับปรุง สภาวะ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อเป็นการตัดการติดต่อของโรคที่จะมาสู่คน เพราะฉะนั้น การป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ โดยการปรับปรุงการสุขาภิบาลทั่วไปให้ดีขึ้น โดย
1. ดื่มน้ำจากแหล่งน้ำที่สะอาดแล้วเท่านั้น
2. ถ่ายอุจจาระในส้วมซึม
3. กินอาหารที่สะอาดและทำให้สุกดีแล้ว
4. ล้างมือก่อนกินอาหารและหลังจากถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
5. รักษาความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า บ้านเรือน ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
6. กำจัดสิ่งปฏิกูล น้ำโสโครก และแมลง นำโรค

ขอบเขตงานสาธารณสุข
ลักษณะงานสาธารณสุขจึงมีขอบเขตกว้างขวาง ลักษณะงานจึงเป็นการปฏิบัติงาน เพื่อสุขภาพอนามัยของปวงชน มีเป้าหมาย 3 ประการ คือ
การรักษา (Curative Medicine) คือ การจัดบริการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เกิดการเจ็บป่วย
ด้วยโรคต่าง ๆ
การป้องกัน (Preventive Medicine) เป็นการจัดบริการเพื่อการป้องกันโรค พร้อมกับจัดเป็น โครงการส่งเสริมสุขภาพ Promotion Health
การส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพ (Promotive and Rehabilitation) หมายถึง การจัดบริการให้ผู้ป่วย เพื่อให้หายจากการเจ็บป่วยและให้ฟื้นฟูสมรรถภาพ ถึงแม้ผู้ป่วยจะหายจากโรคแล้ว แต่มีความผิดปกติ ก็จำเป็นจะต้องจัดหาสถานที่พักฟื้นหรือทำเป็นนิคม ซึ่งเป็นสังคมย่อยสำหรับผู้ป่วย พวกดังกล่าว

นักสุขาภิบาล Sanitarian หรือ environmentalist
มีหน้าที่รับผิดชอบ คือ การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยจะต้องทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม งานหลักใหญ่ๆในการควบคุมดูแลทางด้านสุขาภิบาลที่การทำมีดังนี้
1.น้ำดื่มน้ำใช้ (Water supply)
2.การกำจัดสิ่งปฏิกูล (Waster disposal)
3.การควบคุมแมลงและสัตว์แทะ (Insect rodent controm)
4.การสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation)
5. .การสุขาภิบาลที่พักอาศัย (Housing Sanitation)
6.การป้องกันบรรยากาศสกปรก (Prevention of atmospheric Pollution)
7.การสุขาภิบาลในโรงเรียน (School Sanitation)
8.การอาชีวะอนามัยและการสุขาภิบาลโรงงาน(Occupational health Industrial Sanitation)
9.การสุขาภิบาลสระว่ายน้ำและที่อาบน้ำ (Sanitation of Swimming pool and bathing)
10.การกำจัดเหตูรำคาญ (Eradication of Nuisances)
11.การป้องกันกัมมันตภาพรังสี (Radiological protection)
12.การป้องกันอุบัติเหตุ (Accident prevention)
13.การสุขาภิบาลตลาด (Market Sanitation)
14.การควบคุมโรคติดต่อ (Communication diseases control)
15.การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies contron)
16.การสุขาภิบาลโรงงานน้ำแข็ง (Ice plan sanitation)
17.การทำวิจัย (Research)

ความสำคัญของการสุขาภิบาล
1.ลดอัตราการป่วยตายของประชาชน ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงานสุขาภิบาลเพื่อป้องกันโรค ได้แก่ การกำจัดอุจจาระ ขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล การสุขาภิบาลเรื่องอาหาร น้ำดื่มน้ำใช้ การกำจัดแมลง และสัตว์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันโรคทางลำไส้ และโรคทางเดินอาหาร เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ท้องร่วง และโรคทางเดินอาหารอื่น เป็นต้น
2.ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน อันเป็นผลมาจากการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการรักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาคารบ้านเรือน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการพักผ่อนหลับนอน ซึ่งมีผลให้ทุกคนมีสุขภาพภาพสมบูรณ์แข็งแรง
3.ส่งเสริมเศรษฐกิจของชาติ เมื่อทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย ย่อมต้องเกิดแรงงานสูง สามารถประกอบอาชีพได้โดยสะดวก ฐานะของแต่ละคน แต่ละครอบครัว แต่ละท้องถิ่นย่อมต้องดีขึ้น ประเทศชาติย่อมมีฐานะดีขึ้น
4.ส่งเสริมความเจริญของประเทศชาติ เมื่อทุกคน ทุกครอบครัว และทุกท้องถิ่น มีเศรษฐกิจดี เศรษฐกิจของชาติย่อมดีขึ้นด้วย

การสุขาภิบาลแบ่งออกตามลักษณะท้องที่ได้ 2 อย่าง คือ
1.การสุขาภิบาลในเมือง (Urban Sanitation)
2.การสุขาภิบาลในชนบท (Rural Sanitation)
การจัดการสุขาภิบาลทั้ง 2 อย่างนี้ มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ ป้องกันโรคให้แก่ประชาชน แต่การสุขาภิบาลในเมือง อาจจัดได้ดีกว่าการสุขาภิบาลในชนบท เพราะว่าในเมืองหรือในท้องถิ่นที่เจริญอาจมีปัจจัยในการจัดการสุขาภิบาลดีกว่าเป็นต้นว่า มีเงิน มีเจ้าหน้าที่ และ อุปกรณ์ดีกว่า ตลอดจนความรู้ของประชาชน

กฎหมายและข้อบังคับในการควบคุมสิ่งแวดล้อมและการป้องกันโรค
มีพระราชบัญญัติที่สำคัญๆ ได้ประกาศออกมาใช้ คือ
1.พระราชบัญญัติสาธารณสุข วัตถุประสงค์เพื่อจะให้บ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยมุ่ง ที่จะควบคุมดูแล การกำจัดและการจัดการเรื่องขยะมูลฝอย
2.พระราชบัญญัติสุขาภิบาล วัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้ท้องถิ่นที่ยกฐานะเป็นสุขาภิบาล จัดดำเนินการบริหารกิจการของสุขาภิบาล
3.พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดข้อบังคับกับลักษณะอาคารชนิดต่างๆ เพื่อประโยชน์ในความมั่นคงคงแข็งแรง กำหนดแนวอาคารตามถนนให้ได้ระเบียบ
4. พระราชบัญญัติโรงงาน วัตถุประสงค์ เพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานทำการตรวจและควบคุมในเรื่องสวัสดิภาพ และความปรอดภัยของคนงาน
5.พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
วัตถุประสงค์เพื่อที่จะจัดการเรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองโดยกำหนดให้เป็นกฎหมายเพื่อใช้บังคับ หรือตราพระราชบัญญัติขึ้น
6.พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระเป็นปุ๋ย วัตถุประสงค์เพื่อมิให้บุคคลใช้อุจจาระเป็นปุ๋ย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตเพื่อที่เจ้าพนักงานจะได้คาบคุมดูแลเห็นว่าปลอดภัยเสียก่อน
7. พระราชบัญญัติควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน วัตถุประสงค์ เพื่อควบคุมปนสถานของ เอกชน
8. พระบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมคุณภาพอาหารให้รัดกุม และเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของประชาชน
9. พระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ ( พ.ศ. 2477 ) วัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อต่างๆ มิให้แพร่หลายออกไป
10. พระราชบัญญัติไข้จับสั่น ( พ.ศ. 2485 ) วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมโรคไข้จับสั่น มิให้ระบาดออกไป โดยวางข้อกำหนดให้บุคคลนอนกางมุ้ง
11. พระราชบัญญัติโรคเรื้อน ( พ.ศ. 2486 ) วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมและป้องกันโรคเรื้อน มิให้แพร่เชื้อโรคกระจายออกไป
12. พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ( พ.ศ. 2498 ) วัตถุประสงค์เพื่อทำการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ามิให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยวางกำหนดกฎหมายขึ้นใช้