วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550

พาหะและสื่อนำโรค

ความหมายของพาหะและสื่อนำโรค


พาหะนำโรค หมายถึง คนและสัตว์ซึ่งรวมทั้งสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง

สื่อนำโรค หมายถึง อาหาร น้ำ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา


การควบคุมและกำจัดพาหะและสื่อนำโรคดำเนินการได้ 4 วิธีคือ


1. การป้องกันโรค Prevention
2. การควบคุมโรค Control
3. การกำจัดโรค Elimination
4. การกวาดล้างโรค Eradication
ส่วนการที่จะนำวิธีใดมาใช้นั้นขึ้นอยู่ที่ความเหมาะสม
ต่อพาหะ และสื่อนำโรคชนิดนั้นๆ


สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพาหะและสื่อนำโรค


-สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับกายภาพ

-สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ

-สิ่งแวดล้อมทางเคมี

-สิ่งแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ

-ลักษณะของแต่ละบุคคล


แนวทางของการควบคุมและกำจัดพาหะและสื่อนำโรค


- การแยกผู้ป่วยและการกักกันโรค (Isolation and Quarantine)
- การทำลายเชื้อ (Disinfection)

- การให้สุขศึกษา (Health education)
- การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มแรกและให้การรักษาโดยฉับพลัน
- สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Immunization)
- การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Environmental Sanitation)
- การใช้กฎหมาย


การควบคุมและกำจัดพาหะนำโรค


คนที่ได้รับเชื้อโรคแล้วแต่ไม่มีอาการของโรคปรากฏ จึงทำให้นำโรคไปติดผู้อื่นได้ อย่างกว้างขวางโดยไม่ตั้งใจ จำเป็นต้องควบคุมและกำจัดโรคโดยการส่งเสริมสุขภาพ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มแรก และให้การรักษาโดยฉับพลัน


สัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิดที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน ได้แก่ หมู วัว ควาย สุนัข แมว ฯลฯ โรคที่เกิดขึ้นจากสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นพาหะนั้นมีอันตรายถึงตายได้ เช่น โรคกลัวน้ำ เป็นต้น การควบคุมสัตว์จำนวนนี้จึงใช้มาตรการในการควบคุมหรือกำจัดให้น้อยลงหรือหมดไป


สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นพาหะนำโรคสู่คน ทำให้เกิดปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบัน เช่น ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก จาก ยุง, โรคฉี่หนู จาก หนู วิธีการควบคุมและกำจัดสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นพาหะนำโรค จะต้องใช้หลายวิธีผสมผสาน

ไม่มีความคิดเห็น: