วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

ขยะ สิ่งโสโครก และ สิ่งปฏิกูล


ขยะ คือ ของเหลือทิ้งจากการใช้สอยของมนุษย์ หรือ จากขบวนการผลิตจากกิจกรรมภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตรกรรม ปัจจุบันขยะมูลฝอยเป็นปัญหาวิกฤตที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น จะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม และยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

สิ่งปฏิกูล หมายถึง กากตะกอนของอุจจาระ ปัสสาวะ รวมทั้งสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น (พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535)

ประเภทของขยะ

1. ขยะสด ได้แก่ เศษอาหาร เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้
2. ขยะแห้ง ได้แก่ เศษแก้ว กระป๋อง ขวด ไม้ ที่สลายยาก
3. เถ้า ได้แก่ เศษ กากที่เหลือจากการเผาไหม้ แกลบ เขม่าควัน
4. สิ่งรื้อถอน ได้แก่ ต้นไม้ที่ถูกขุดหรือถอน ซากของอาคารบ้านเรือน ฯลฯ
5. ขยะจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม สารเคมี
6. ซากสัตว์ เป็นเหตุรำคาญ ส่งกลิ่นเหม็น โรคระบาด
7. ขยะจากถนน ได้แก่ เศษใบไม้ กระดาษ ดิน ทำให้ท่อน้ำอุดตัน
8. ขยะจากกสิกรรม ได้แก่ พวกอินทรียวัตถุ เศษพืช ฟาง หญ้า มูลสัตว์
9. กัมมันตรังสี ได้แก่ ขยะเป็นพิษต่างๆ เช่น สเปรย์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ฯลฯ
10. เศษสิ่งก่อสร้าง เช่น เศษไม้ อิฐ ปูน โลหะ
11. สิ่งก่อสร้าง ได้แก่ หิน ปูนซีเมนต์ เหล็ก กระจก ฯลฯ
12. ขยะติดเชื้อ ได้แก่ สิ่งของที่ไม่ต้องการ หรือถูกทิ้งจากสถานพยาบาล อาทิ เนื้อเยื่อ ชิ้นส่วน อวัยวะต่าง ๆ และสิ่งขับถ่าย หรือของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย (เช่น น้ำเหลือง น้ำหนอง เสมหะ ปัสสาวะ อุจจาระ ไขข้อ น้ำอสุจิ ) เลือดและผลิตภัณฑ์เลือด (เช่น เซรุ่ม น้ำเลือด )

องค์ประกอบของขยะมูลฝอย
ในประเทศไทยตัวอย่างมูลฝอยที่สุ่มออกมา จะนำมาแยกองค์ประกอบเป็นประเภทต่างๆ 10 ประเภท ได้แก่
1. ผัก ผลไม้ เศษอาหาร 6. ยางและหนัง
2. กระดาษ 7. แก้ว
3. พลาสติก 8. โลหะ
4. ผ้า 9. หิน กระเบื้อง
5. ไม้ 10. อื่นๆ


สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย
1. ความมักง่ายและขาดความสำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น
2. การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น
3. การเก็บและทำลาย หรือนำขยะไปใช้ประโยชน์


ผลเสียที่เกิดจากขยะมูลฝอย
1.ทำให้เกิดทัศนะอุจาด
2.เป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อโรค
3.ทำให้ดินเสื่อมและเกิดมลพิษ
4.ทำลายแหล่งน้ำ


วิธีกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล และสิ่งโสโครก ในปัจจุบัน
1. กองทิ้งตามธรรมชาติ
2. ทิ้งทะเล
3. ถมที่
4. ปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ
5. การรีไซเคิลขยะ

วิธีที่กำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล และสิ่งโสโครก ที่ถูกหลักสุขาภิบาล
1. การฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล
2. การเผาโดยใช้เตาเผาขยะ
3. การหมักทำปุ๋ย

แนวทางแก้ไขปัญหาขยะ
1) ลดการผลิตขยะ
2) จัดระบบการรีไซเคิล
3) เลือกระบบกำจัดแบบผสมผสาน เนื่องจากปัญหาขาดพื้นที่
4) ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะ
5) ฝึกอบรมบุคลากรระดับปฏิบัติ
6) ให้ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาลที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน
7) ควรมีแผนการจัดเตรียมที่ดิน สำหรับการกำจัดขยะ ไว้สำหรับทุกหน่วย การปกครองท้องถิ่น เพื่อลดปัญหาการจัดหาพื้นกำจัดขยะ
8) สนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการขยะ